ประโยชน์ของผลทับทิม (Pomegranate)

 

 ทับทิม (Pomegranate)


ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีถิ่น กำเนิดจากแถบประเทศอิหร่านถึงตอนเหนือของประเทศอินเดีย และได้รับการขยายพันธุ์ไปทั่วแถบเมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่สมัยโบราณกาล ปัจจุบันมีการเพาะปลูกอย่างกว้างขวางทั่วประเทศอินเดีย แอฟริกา สหรัฐอเมริกา และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 

ผลทับทิมถูกนำมาประกอบ อาหารจำนวนมาก เช่น สลัด ,อาหารหวานบางชนิด, น้ำผลไม้, ไวน์ผลไม้  ปัจจุบันมีการจำหน่ายเป็นอาหารเสริม ส่วนประกอบในเครื่องสำอาง เนื่องจากให้คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินซี และโฟลิค แอซิด(folic acid) และสารสกัดบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สารสกัดน้ำทับทิม โดยเฉพาะสารกลุ่มโพลีฟีนอล(Polyphenols)ได้รับความสนใจศึกษาวิจัยอย่างมาก เนื่องจากพบว่าให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างแรงจึงมีการศึกษาถึงผลประโยชน์ นี้ต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ และผลการวิจัยสนับสนุนว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ยับยั้งปฏิกิริยา Lipid peroxidation ช่วยลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว(artherosclerosis)1,2 ลดไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด3,4 ซึ่งลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้, ช่วยต้านการเกิดมะเร็งและมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการรักษามะเร็ง5 บางชนิดได้อีกด้วย เช่น ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งปอด6 ลดการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก7 สารสกัดที่ได้รับความสนใจได้แก่ Punicalagin, ellagitannin, ellagic acid ซึ่งนอกจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังพบว่า ellagic acid มีผลยับยั้งการสร้างเม็ดสี8 ทำให้สีผิวที่เข้มขึ้นจากการกระตุ้นโดยรังสี UV  ขาวขึ้นได้9 โดยลดการทำงานของเอ็นไซม์ไทโรซิเนส(tyrosinase)10 ในด้านเวชสำอางมีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากน้ำทับทิม และเปลือกทับทิม มีผลกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิว ส่งเสริมการซ่อมแซม, สร้างเซลล์ใหม่ในชั้นหนังแท้ และสารสกัดจากเมล็ดทับทิมช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ในชั้นหนังกำพร้า11 สารสกัดจากทับทิมจึงได้รับความสนใจสำหรับการบำรุงผิวอีกด้วย



Ref:
1.Seeram NP, et.al.In vitro antiproliferative, apoptotic and antioxidant activities of punicalagin, ellagic acid and a total pomegranate tannin extract are enhanced in combination with other polyphenols as found in pomegranate juice.J Nutr Biochem.2005 Jun;16(6):360-7.

 2.de Nigris F, et.al.Effect of pomegranate fruit extract rich in punicalagin on oxidation-sensitive genes and eNOS activity at sites of perturbed shear stress and atherogenesis.Cardiovasc Res.2007 Jan 15;73(2):414-23.

 3.Esmaillzadeh A, et.al.Concentrated pomegranate juice improves lipid profiles in diabetic patients with hyperlipidemia.J Med Food.2004 Fall;7(3):305-8.

 4.Esmaillzadeh A, et.al.Cholesterol-lowering effect of concentrated pomegranate juice consumption in type II diabetic patients with hyperlipidemia.Int J Vitam Nutr Res.2006 May;76(3):147-51.

 5.Lansky EP, Newman RA.Punica granatum(pomegranate) and its potential for prevention and treatment of inflammation and cancer.J Ethnopharmacol.2007 Jan 19;109(2):177-206.

 6.Khan N, Afaq F, Kweon MH, Kim K, Mukhtar H.Oral consumption of pomegranate fruit extract inhibits growth and progression of primary lung tumors in mice.Cancer Res.2007 Apr 1;67(7):3475-82.

 7.Malik A, Mukhtar H.Prostate cancer prevention through pomegranate fruit.Cell Cycle.2006 Feb;5(4):371-3.

 8.Shimogaki, Tanaka, Tamai&Masuda.In vitro and in vivo evaluation of ellagic acid on melanogenesis inhibition.International Journal of Cosmetic Science.2000 Aug;22(4):291-303.

 9.Kasai K, et.al.Effect of oral administration of ellagic acid-rich pomegranate extract on ultraviolet-induced pigmentation in the human skin.J Nutr Sci Vitaminol(Tokyo).2006 Oct;52(5):383-8.

 10.Yoshimura M, et.al.Inhibitory effect of an ellagic acid-rich pomegranate extract on tyrosinase activity and ultraviolet-induced pigmentation.Biosci Biotechnol Biochem.2005 Dec;69(12):2368-73.

 11.Aslan MN, Lansky EP, Varani J.Pomegranate as a cosmeceutical source: pomegranate fractions promote proliferation and procollagen synthesis and inhibit matrix metalloproteinase-1 production in human skin cells.J Ethnopharmacol.2006 Feb 20;103(3):311-8.

 12. http://encyclopedia.thefreedictionary.com/pomegranate