มัลติพลัส
ร่างกายควรได้รับวิตามินและแร่ธาตุอะไรบ้าง
ปกติร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุจากอาหาร ขณะรับประทานอาหารครบทุกมื้อพร้อมผลไม้และน้ำวันละ 8 แก้วแล้ว ร่างกายยังต้องการวิตามิน แร่ธาตุเพื่อเสริมสุขภาพ ตามตารางดังนี้
สารอาหาร |
Thai RDI** |
วิตามินเอ (vit A) |
2664 IU |
วิตามินอี (vit E) |
15 IU |
วิตามินซี (vit C) |
60 mg. |
วิตามินบี 1 (vit B1) |
1.5 mg. |
วิตามินบี 2 (vit B2) |
1.7 mg. |
วิตามินบี 3 (vit B3) |
20 mg. |
วิตามินบี 5 (vit B5) |
6 mg. |
วิตามินบี 6 (vit B6) |
2 mg. |
วิตามินบี 9 (Folic acid) |
0.2 mg. |
วิตามินดี (vit D) |
200 IU |
วิตามินบี 12 (vit B12) |
0.002 mg. |
ดี-ไบโอติน (D-Biotin) |
0.15 mg. |
แคลเซียม (Calcium) |
800 mg. |
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) |
800 mg. |
ธาตุเหล็ก (Iron) |
15 mg. |
แมกนีเซียม (Magnesium) |
350 mg. |
คอปเปอร์ ซัลเฟต (Copper) |
2 mg. |
โครเมียม (Chromium) |
0.13 mg. |
ซีลีเนียม (Selenium) |
0.070 mg. |
ซิงค์ อะมิโน แอซิด คีเลต (Zinc) |
15 mg. |
โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลลิน (Sodium Copper Chlorophyllin) |
N/A |
สารสกัดจากชาเขียว (Green tea Extract) |
N/A |
แอล-อาร์จีนีน (L-Arginine) |
N/A |
แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) |
N/A |
โค เอนไซม์ คิวเท็น (Co Enzyme Q 10) |
N/A |
Thai RDI** (Thai Recommended Daily Intakes) หมายถึงสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
วิธีการเลือกรับประทานวิตามินและแร่ธาตุควรพิจารณาอย่างไร
เลือกสูตรสมดุลพอดีกับร่างกายต้องการ และครบถ้วนในแต่ละวัน
รับประทานอย่างต่อเนื่องได้
ไม่สะสมหรือทำให้สารตัวใดตัวหนึ่งมากไป โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน เช่น เอ ดี อี เค ซึ่งสามารถสะสมได้ในร่างกาย
ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายได้รับต่อวัน หากมากกว่าปริมาณที่กำหนดตามตารางด้านบนจะมีผลอย่างไร
หากร่างกายได้รับวิตามินเกิน หรือปริมาณมากเป็นเวลานาน เช่น
- วิตามินเอ (Vitamin A) : จะมีผลเสียต่อสุขภาพและร่างกาย เช่นส่งผลให้เส้นขนร่วง ผิวหนังหยาบกร้านและคัน เป็นขุย ผมร่วง ริมฝีปากแตก เป็นอันตรายต่อตับ เป็นต้น
- เบต้าคาร์โรธีน (Beta-Carotene) : เกิดภาวะคาโรทีโนซีส (carotenosis) เป็นต้น
ใครที่ควรได้รับวิตามิน แร่ธาตุเสริมสุขภาพ
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพร่างกายทั้งภายในและภายนอก
- ผู้ที่คร่ำเคร่งกับการทำงานและพักผ่อนไม่เพียงพอ : เนื่องจากร่างกายจะหลั่งสารที่เรียกว่า "อะดรีนาลิน" (Adrenalin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดออกมาอยู่ในกระแสเลือดเป็นปริมาณมากทำให้ปวดศีรษะและเป็นต้นเหตุของโรคเส้นเลือดอุดตัน
- ผู้ที่ควบคุมและลดน้ำหนัก : สารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายควรจะได้รับก็จะลดลง แต่ถ้าจำเป็นต้องควบคุมอาหารควรรับประทานวิตามินเสริม เช่น วิตามินซี วิตามินอี เกลือแร่ แคลเซียม วิตามินบี6 และแมกนีเซียม เป็นต้น
- คนสูงอายุ : เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการกินอาหารลดลง การดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายก็เป็นไปอย่างช้าๆ ภาวะนี้ทำให้ร่างกายได้พลังงานน้อย หรือสารอาหารน้อยจากอาหาร การได้รับมัลติวิตามินเสริมจะทำให้ ร่างกายไม่อ่อนแรงจนเกิดโรคภัยต่างๆ ได้ง่าย
- ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ : ควรรับประทานวิตามินซีเป็นสองเท่าของปริมาณที่แนะนำ
- ผู้ป่วยที่กำลังพักฟื้นหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว : ผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ซึ่งมีมลพิษสูง ผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง
- ผู้ที่กินยาประเภทสเตอรอยด์
- ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบทั้ง 3 มื้อ : ควรรับประทานวิตามินรวมเสริมเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและครบถ้วน
- ผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ : ซึ่งได้รับแต่โปรตีนจากพืช ควรรับประทานอาหารเสริมในกลุ่มวิตามินบี
- ผู้หญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือใช้ฮอร์โมนเสริม: ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินบี 6 บี 12 กรดโฟลิก และแร่ธาตุสังกะสี