Perilla frutescens (L.) Britton (งาขี้ม้อน)

 

 

พิชชนิดนี้พบมากในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออก เป็นพืชตระกูลมิ้นท์ ใช้ประกอบอาหารหลากหลายในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น(ชื่อญี่ปุ่น:shiso) เกาหลี และจีน สารสกัดจากเมล็ดเป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า-3 (omega-3 fatty acid), อัลฟ่าไลโนเลนิก แอซิด (Alfa-linolenic acid)1 ,  สารสกัดสำคัญในกลุ่ม polyphenols พบได้ทั้งจากส่วนใบและเมล็ด ที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ โรสมารินิก แอซิด (Rosmarinic acid)  มีการวิจัยจำนวนมากยืนยันผลว่า โรสมารินิก แอซิด มีฤทธิ์ต้านการแพ้2 และต้านการอักเสบได้ดี การศึกษาที่น่าสนใจ เช่น  การให้สารสกัด perilla ซึ่งมีสาร rosmarinic acid ในปริมาณสูงโดยวิธีรับประทานช่วยลดอาการหอบเหนื่อยจากอาการแพ้(Allergic asthma)3 , ลดอาการแพ้อากาศจากการเปลี่ยนฤดู(Seasonal Allergic Rhinoconjunctivitis) โดยออกฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาการตอบสนองต่ออาการแพ้และต้านอาการอักเสบ4 , การวิจัยโดยการทาโรสมารินิก แอซิดที่ผิวหนังพบว่าสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ โดยออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ5 , โรสมารินิก แอซิด จาก perilla ช่วยปกป้องตับจากการถูกทำลาย โดยการลดปฏิกิริยา superoxide หรือ peroxynitirite6 และยับยั้งการเจริญของมะเร็งตับ7  นอกจากนี้ยังพบสาร Luteolin ซึ่งสกัดได้จากใบ Perilla แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบ และยับยั้งเซลล์มะเร็ง8,9  และการวิจัยล่าสุดในปี 2007 มีรายงานหนึ่งพบว่าสารสกัดจาก Perilla แสดงฤทธิ์ในการทำให้ผิวขาวขึ้น โดยยับยั้งการทำงานของ tyrosinase, ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน10  ด้วยคุณสมบัติเด่นหลายประการของ Perilla ,สารสกัดจากพืชชนิดนี้จึงเริ่มมีบทบาทในแวดวงเครื่องสำอางมากขึ้น นอกเหนือจากบทบาทในการรับประทานเพื่อประกอบอาหาร, บำรุงสุขภาพและต้านทาน-รักษาโรคต่างๆ

เอกสารอ้างอิง
1. http://encyclopedia.thefreedictionary.com/perilla
2. Makino T, et.al. Anti-allergic effect of Perilla frutescens and its active constituents.Phytother Res.2003 Mar;17(3):240-3.
3. Sanbongi C, et.al.Rosmarinic acid in perilla extract inhibits allergic inflammation induced by mite allergen, in a mouse model.Clin Exp Allergy.2004 Jun;34(6):971-7
4. Hirohisa Takano, et.al.Extract of Perilla frutescens Enriched for Rosmarinic acid, a polyphenolic phytochemical, Inhibits Seasonal allergic rhinoconjunctivitis in humans.Experimental Biology and Medicine.2004;229:247-254.
5. Osakabe N, Yasuda A, Natsume M, Yoshikawa T.Rosmarinic acid inhibits epidermal inflammatory responses:anticarcinogenic effect of Perilla frutescens extract in the murine two-stage skin model.Carcinogenesis.2004 Apr;25(4):549-57.
6. Osakabe N, et.al. Rosmarinic acid, a major polyphenolic component of Perilla frutescens, reduces lipopolysaccharide(LPS)-induced liver injury in D-galactosamine(D-GaIN)-sensitized mice.Free Radic Biol Med.2002 Sep 15;33(6):798-806.
7. Lin CS, et.al. Growth inhibitory and apoptosis inducing effect of Perilla frutescens extract on human hepatoma HepG2 cells.J Ethnopharmacol.2007 Jul 25;112(3):557-67.
8. Ueda H, Yamazaki C, Yamazaki M.Inhibitory effect of Perilla leaf extract and luteolin on mouse skin tumor promotion.Biol Pharm Bull.2003 Apr;26(4):560-3.
9. Ueda H, Yamazaki C, Yamazaki M.Luteolin as an anti-inflammatory and anti-allergic constituent of Perilla frutescens.Biol Pharm Bull.2002 Sep;25(9):1197-202.
10. Hwang JH, Lee BM.Inhibitory effects of plant extracts on tyrosinase, L-DOPA oxidation, and melanin synthesis.J Toxicol Environ Health A.2007 Mar 1;70(5):393-407.